ปัจจุบัน มีการปรับปรุงพันธุ์ผักหละ เพื่อทำให้ผักนี้ไม่มีหนาม แต่รสชาติจะอ่อน หรือเปลี่ยนไปเล็กน้อย เรียกว่าผักแหละ ตามท้องตลาด จึงหาซื้อผักหละยาก เว้นแต่จะเป็นตลาดชุมชนที่มีการปลูกตามรั้วบ้าน ไม่ใช่ปลูกเป็นแปลง เพื่อนำมาขาย ผักหละ เป็นที่นิยมใช้ใส่ในแกงเมือง เช่น แกงหน่อไม้ แกงแค แกงป่า แกงขนุน หากแกงเหล่านั้น ขาดผักหละ จะไม่ได้รสชาติเลย
กล่าวถึงคุณประโยชน์ของผักหละ จากข้อมูลของกองโภชนาการ ใน 100 กรัม ให้แคลอรี่สูงถึง 80 Kcal ยอดผักมีวิตามิน เอ สูงถึง 1007 ไมโครกรัม โปรตีน 9.5 กรัม วิตามิน B1 0.05 มิลลิกรัม B2 0.24 มิลลิกรัม B3 1.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เส้นใย 5.7 กรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม แคลเซียม 58 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม นับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์สูง รสชาติอร่อย
อย่างไรก็ดี มีข้อห้ามของผักหละในคนเมืองเหนือคือ หญิงที่อยู่ไฟ หลังคลอดบุตร มักจะแพ้กลิ่นฉุนของผักหละ เมื่อบ้านใดแกง กลิ่นจะลอดมากระทบสัมผัส ทำให้เกิดอาการผิดกลิ่น เป็นสาเหตุทำให้หญิงนั้น จะมีอาการไม่สบายกาย และใจ ไปตลอด แม้หลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว เรียกว่าเป็นอาหารแสลง ผักหละ ยังเป็นที่รู้จักกันดีว่า มีกรดยูริคสูง จึงห้ามรับประทานในคนที่มีโรคเก๊าท์กำเริบบ่อย
ในทางยาพื้นบ้าน เราพบว่าผักหละ ถูกนำมาเข้ายารักษาในหลายอาการ หรือมักพบผักหละในตำรับยาเหล่านี้ แต่ไม่ได้ใช้ยอดผักในการเข้ายา มักใช้ กาฝากของผักหละ ใช้ ราก และ เปลือก ดังรายละเอียดคือ (2)
อาการที่ใช้ผักหละ |
ส่วนที่ใช้ |
วิธีใช้ |
ถีบ ไข้ร้อน |
กาฝาก |
ฝนกิน |
-ถีบตุ่มสุก |
กาฝาก |
ฝนกิน |
-ถีบก๋าน |
กาฝาก |
ฝนลงน้ำข้าวเจ้ากิน |
ก๋านเย็น |
กาฝาก |
ฝนลงน้ำข้าวเจ้ากิน |
ไข้เด็ก |
เปลือก |
ฝนทา |
ยารัมนาด |
กาฝาก |
ฝนกิน/ทา |
ยากินน้ำมากเกินไป |
ผัก |
แช่กิน |
เยี่ยวบ่ออก |
กาฝาก |
ฝนกิน |
แก้สรรพะ |
กาฝาก |
ฝนกิน |
เจ็บหัว |
ราก |
จู๊กระหม่อม (ประคบด้วยความร้อน) |
ดับขาง |
กาฝาก |
ฝนและเผาขางกิน |
แก้ไอ |
ราก |
ฝนใส่น้ำมะนาวกิน |
กินผิด |
กาฝาก |
ฝนใส่น้ำข้าวเจ้ากิน |
ห้ามพิษสุก |
ราก |
ฝนกิน |
นิ่ว |
แกนต้น |
ต้มกิน |
ยาห้ามพิษเสือ |
ไม่ระบุ |
ทา |
สันนิบาต |
เปลือก |
กิน |
กาฝากเป็นพืชที่อาศัย ผักหละในการดำรงชีวิต ดังนั้น สรรพคุณของกาฝากผักหละ จึงอนุมานว่าได้จากผักหละ โดยเมื่อวิเคราะห์ พบว่ากาฝากผักหละ นำมาใช้ในการถีบ (การขจัด) ปิตตะธาตุ ทำให้ลดมูลเหตุของการเกิดอาการเช่นไข้ หรือการประทุออกของตุ่ม หรือสุก นอกจากนี้ ยังลดพิษ ที่เกิดขึ้น ใช้ได้ทั้งกินและทา
ดังนั้นการรับประทานผักหละ หรือผักชะอม จึงไม่ควรรับประทานทุกวัน เพราะ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยเนื้อตัว โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ควรลดปริมาณลง หรือเมื่อยามมีอาการของเก๊าท์กำเริบ ควรเว้นการกินแกง หรือผักหละ เป็นระยะ อย่างไรก็ดี ผักหละชนิดที่มีหนาม ยังควรพิจารณาปลูกเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ไว้ให้เห็นลูกหลานเห็น หรือรู้จักต่อไป
เอกสารอ้างอิง
บทความโดย รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด
ภาพประกอบโดย สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์
Copyright © 2015
Faculty of Pharmacy Chiang Mai University, All rights reserved.
by Information Technology Service Center
Faculty of Pharmacy Chiang Mai University
Suthep Road, Suthep, Mueang, Chiang Mai
50200, Thailand
ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ 053-944342-3 โทรสาร 053-944390