อนุรักษ์ และดูแลรักษาต้นไม้บนกำแพงเวียงสวนดอก
กำแพงเวียงสวนดอกได้รับฟื้นฟูเรียนรู้ประวัติศาสตร์ล้านนา จากหลายหน่วยงานที่ร่วมกันดำเนินการกับกรมศิลปากร ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคณะเภสัชศาสตร์ ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเวียงสวนดอก ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์จึงได้ให้ความสำคัญกับการดูแลต้นไม้บนกำแพงเวียงสวนดอก ซึ่งมีต้นไม้เก่าแก่ดั้งเดิมที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ที่สุดในกำแพงเวียงสวนดอก เช่น ต้นสมอพิเภก ต้นมะขามป้อม ต้นง้าว มะกล่ำต้น ต้น ปรู๋ เป็นต้น
สร้างสวนสมุนไพร เป็นศูนย์การเรียนรู้และมีการจัดการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สวนสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นภายใต้แนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้สมุนไพรในพื้นที่ภาคเหนือ มีสมุนไพรหลากหลาย เช่น สมุนไพรที่เป็นต้นไม้ดั้งเดิมของพื้นที่ตั้ง สมุนไพรหายาก สมุนไพรล้านนา สมุนไพรการแพทย์แผนไทย สมุนไพรพืชผักพื้นบ้าน เป็นต้น และที่สำคัญคือมีการจัดการสวนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ปุ๋ยหมัก ใช้การปลูกแบบผสมผสาน พิพิธภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการอนุรักษ์และเรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการรวบรวมพรรณไม้นานนาชนิดในพื้นที่ภาคเหนือ และได้จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการอนุรักษ์และเป็นศูนย์การเรียนรู้พรรณไม้สมุนไพร รวมทั้งภูมิปัญญาล้านนา เช่น พับสาใบลาน อุปกรณ์เพื่อการบำบัดดูแลสุขภาพดั้งเดิม อันเป็นวิถีตามธรรมชาติของชุมชนล้านนา โดยมีการดำเนินงานลักษณะเครือข่ายชุมชน กับหมอเมือง และการแพทย์ล้านนา
การวิจัยและหลักสูตรวิชาชีพเพื่อการผลิตที่ดี ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วิชาชีพเภสัชกรรม เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และคุณภาพชีวิต ดังนั้น หลักสูตรเภสัชศาสตร์ของคณะเภสัชศาสตร์ จึงมุ่งเน้น จริยธรรมด้านวิชาชีพ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์ที่เป็นกระบวนการผลิตเพื่อสุขภาวะ เช่น การศึกษาวิจัยสมุนไพร ที่กำหนดว่า ต้องมาจากแหล่งวัตถุดิบที่ปลอดภัย เป็นกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์หรือวิถีชุมชนดั้งเดิม ไม่ใช้สารเคมี และแหล่งผลิตต้องดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย เช่นเดียวกับหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับระดับ การผลิตระดับอุตสาหกรรม ที่ยึดหลักการผลิตที่ดี ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อผู้บริโภคและผู้ป่วย และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากหลักสูตรที่คำนึงถึงภาวะสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้คนแล้ว คณะเภสัชศาสตร์ ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายวิชาการและเครือข่ายชุมชน เพื่อการผลิตที่ดีร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลชุมชน และเครือข่ายชุมชนต่างๆ โดยมีการอบรมที่เน้นกระบวนการผลิตทีดีมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เช่นการอบรมน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค การอบรมการทำลูกประคบล้านนา เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างความตระหนักของนักศึกษา เป็นรากฐานที่สำคัญ ดังนั้นจึงมีกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมผ่านการเรียนการสอน เช่น การให้นักศึกษาทำ diary เกี่ยวกับสมุนไพรในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัย
ด้วยความตระหนักว่า ห้องปฏิบัติการมีความสำคัญต่อระบบการจัดการห้องปฏิบัติการต้นแบบ ทั้งด้านสุขภาพ เชิงสิ่งแวดล้อมและสำนึกสาธารณะ คณะเภสัชศาสตร์ จึงได้ร่วมกับเครือข่ายเภสัชศาสตร์ จัดทำโครงการพัฒนห้องปฏิบัติการปลอดภัย ซึ่งมีการจัดการทั้งในห้องปฏิบัติการ และการจัดการกับสารเคมีทีใช้แล้วจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีหลักการสำคัญคือต้องแยกประเภท และมีการกำจัดตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งแน่นอนว่า จะไม่มีการทิ้งสารเคมีที่ใช้แล้ว ลงสู่ท่อระบายน้ำ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสภาพน้ำของชุมชนเชียงใหม่
การจัดการเพื่อสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของบุคลากร นักศึกษา ให้มีความสุข และปลอดภัยในที่ทำงาน จึงมีการจัดการควบคู่กันกับการศึกษาวิจัยภาวะแวดล้อมการทำงาน ทำให้มีการจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น โดยเน้นถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษา เช่น การจัดการแยกขยะ การจัดบริเวณพักผ่อน การจัดระเบียบห้องทำงาน การดำเนินงาน 5 ส นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่นโครงการสาระธรรมนำสุข การส่งเสริมการออกกำลังกาย การส่งเสริมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โครงการ Big cleaning Day เป็นต้น
 |
 |
การสื่อสารเพื่อสาธารณะ ส่งเสริมการดำรงอยู่กับธรรมชาติด้วยความเข้าใจ
องค์ความรู้ด้านสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ เป็นองค์ความรู้จากการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้า และวิจัย ในลักษณะเครือข่ายวิชาการทั้งต่างประเทศ และในประเทศ โดยเฉพาะระดับชุมชน ชาวบ้าน หมอเมือง ซึ่งมีมิติด้านสุขภาวะที่หลากหลาย ดังนั้นเพื่อให้สามารถร่วมขยายความรู้สู่สาธารณะ จึงได้มีการจัดการเพื่อการสื่อสารสาธารณะหลายรูปแบบ เช่น มีการจัดกิจกรรมในชุมชน มีอาจารย์ และนักศึกษา ไปร่วมกับชุมชน ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร การปรุงยาสมุนไพรอย่างง่าย พร้อมรับประสบการณ์การใช้สมุนไพรหรือการดูแลสุขภาพจากชุมชน มีการจัดหลักสูตรบูรณาการ ที่ส่งเสริมนักศึกษากิจกรรมชุมชน ส่วนของนักศึกษาก็มีการจัดค่ายอาสาพัฒนาซึ่งเน้นบทบาท ของนักศึกษาสร้างสรรกิจกรรมที่ดำรงอยู่กับธรรมชาติ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวสมุนไพร ความรู้ด้านสุขภาพ และผลการวิจัยด้านสมุนไพรอย่างต่อเนื่องทั้งในวารสารวิชาการ และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ขณะเดียวกันก็เปิดรับคำถาม หรือให้คำปรึกษาด้านสมุนไพรด้วย แม้เป็นเพียงหน่วยเล็กๆที่มีจัดการในระดับหนึ่งเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ก็เชื่อว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมและดูแลคุณภาพชีวิตเป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องคิดและ กระทำควบคู่กันอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่อง ให้สามารถเป็นหลักการของชีวิตและเป็นหลักการ ของทุกระบบตามความสอดคล้องหมาะสม ดังนั้นในโอกาสของวันแม่แห่งชาต ิ และเพื่อดำเนินรอยตามโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชชินีนาถ ผู้ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน จึงขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมสร้างความตระหนักและร่วมกิจกรรมเพื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและดูแลชีวิต |