จากนั้นนำสารสกัดมาวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในสารสกัดด้วยวิธีฟอลินซิโอแคลตู ( Folin-ciocalteu method ) เทียบกับสารมาตรฐานกรดกอลลิก ( Gallic acid ) พบว่ามีค่าสารประกอบฟีนอลิกเทียบเท่ากับกรดกอลลิก ( GAE ) 748 มก . /ก . ของสารสกัด และเมื่อวิเคราะห์หาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธีดีดีพีเอช( DPPH Method ) พบว่าสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่ดีกว่า วิตามินอี ( a -Tocopherol ) 3.14 เท่า ซึ่งค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 ( IC50 ) เท่ากับ 53.42 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สารต้านอนุมูลอิสระในเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีปริมาณสูง
ส่วนการพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทีมวิจัยใช้วิธีตอกอัดเป็นเม็ด โดยพบว่าสูตรตำรับที่ดีที่สุดประกอบด้วย ผงสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม 300 มก ., แลกโตสแอนไฮดรัส ( Lactose anhydrous ) ร้อยละ 20, ไมโครคริสตอลลีนเซลลูโลส ( Avicel ® PH101 )ร้อยละ 20 , พอลีไวนิลไพโรลลิโดน( PVP K30 )ร้อยละ 0.0013, คลอสคาร์เมลโลสโซเดียม ( Ac-Di-Sol ® )ร้อยละ 3, ทัลคัม ( Talcum )ร้อยละ 2, แมกนีเซียมสเตียเรต ( Magnesium stearate )ร้อยละ 0.5
ส่วน การคำนวณขนาดการรับประทานต่อเม็ด ( Dose ) นั้นอ้างอิงจากจากฤทธิ์ ต้านออกซิเดชันของวิตามินอี( a -Tocopherol ) โดยเทียบจากผลการทดลองหาฤทธิ์ ต้านออกซิเดชันของสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม พบว่ามีฤทธิ์ ต้านออกซิเดชัน ที่ดีกว่าวิตามินอี( a -Tocopherol ) 3.14 เท่า จึงคำนวณขนาดการรับประทานของผลิตภัณฑ์เม็ดสาร สกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขาม ต่อวันมีค่าเท่ากับ 85.50 - 341.98 mg ต่อวัน โดยผู้วิจัยเลือกขนาดรับประทานต่อเม็ด ( Dose) เป็น 300 mg เนื่องจากจะสามารถรับประทานได้ง่ายเพียงวันละ 1 เม็ด ทำให้เกิดความสะดวกในการรับประทาน และบรรจุใน Blister pack เพื่อควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ “สารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันที่สูงมากใกล้เคียงกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นแนวโน้มที่ดีในการพัฒนาตำรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นำพืชพื้นไทยมาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ซึ่งควร มีการศึกษาความคงสภาพของผลิตภัณฑ์เม็ดสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามก่อนนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป” นายบวร กล่าวทิ้งท้าย
|