มีสารประกอบไซยาไนด์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ อีกรายงานพบว่าใบมีกรดไฮโดรไซยานิก ความร้อนที่นานพอ จึงจะมีผลทำลายสารประกอบไซยาไนด์ดังกล่าว ในงานวิจัยของคณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ ใช้ส่วนลำต้นและใบ นำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีโดยอ้างอิงวิธีการตามเภสัชตำรับสมุนไพรไทย นำมาสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเนื่องโดย เครื่องสกัดต่อเนื่อง ด้วยเอธาทอล 95% ได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก สารสกัดที่ได้เป็นของเหลวข้นหนืด สีน้ำตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว
ในการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดกระทกรกต่อการทำงานของระบบประสาทในสัตว์ทดลองนั้นใช้หนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์น้ำหนักอยู่ในช่วง 180-220 กรัม ให้สารสกัดทางปาก เป็นเวลา 28 วัน พบว่าสารสกัดกระทกรกมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวางสามารถระงับความวิตกกังวล ลดอาการซึมเศร้า ลดอาการความจำบกพร่องและเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้
จะเห็นว่าฤทธิ์สารสกัดกระทกรกต่อระบบประสาทส่วนกลางที่พบในครั้งนี้ค่อนข้างครอบคลุมอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่พบมากในผู้สูงอายุ การพัฒนาสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ได้ยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตยาจากสมุนไพร และสารสำคัญยังมีความคงตัวอยู่ภายหลังการผลิต การผลิตใช้กรรมวิธีการทำแกรนูลเปียก ยาเม็ดที่พัฒนาได้ ประกอบด้วยสารสกัดกะทกรก 25.28 % corn starch 55.62 %, microcrystalline cellulose 8.10 %, pregelatinized starch 8.10 %, และสารอื่น
ดังนั้นจาก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงสนับสนุนฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง กะทกรกเป็นพืชที่พบมากและปลูกได้ง่ายในประเทศไทย จึงมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยและมีความคงตัว เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการเพิ่มทางเลือกการรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรจากการผลิตกะทกรกเป็นวัตถุดิบ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิผลในคน รวมทั้งสารสำคัญที่คาดว่าจะเป็นสารออกฤทธิ์ |