ดังนั้น การใช้มหาพิกัดตรีผลา หรือสัดส่วนของผลไม้ อาจไม่เท่ากัน อนุโลมจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น การที่มีอากาศหนาวเย็น ในช่วงต้นฤดูร้อน การที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อน งานวิจัยพบว่า
- ตรีผลามีผลในการป้องกัน และบรรเทาอาการที่เกิดจากลำไส้เล็กของหนูที่ถูกทำลายด้วยยา methotrexate ได้ แต่ ตำรับยาตรีผลาในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากัน (1:2:4) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับยา methotrexate อย่างเดียวจะให้ผลดีกว่าตำรับยาตรีผลาในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการเพิ่มปริมาณของสมอพิเภกและมะขามป้อม ซึ่งมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระ
(Phytother Res 2009;23:1092-8.).
- สารสกัดเมทานอล 70% ของผลสมอไทย (Terminalia chebula Retz) เมื่อทดสอบฤทธิ์การแบ่งตัวของ breast cancer lines (MCF-7, S115) prostate cell lines (PC-3, NT1A) และ human osteosarcuma cell พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แรงในการทำให้ cell มะเร็งเกิด necrosis และตาย ขนาดที่ฆ่าเซลล์ได้คือ 400 ไมโครกรัม/ซีซี การแยกหาสารออกฤทธิ์ โดยใช้ ATP assay ช่วย ได้สารออกฤทธิ์ Chebulonic acid และ ellagic acid เมื่อทดสอบฤทธิ์เปรียบเทียบกับสารกลุ่ม phenolic acid อื่น จากพืชสกุล Terminalia พบว่ามีฤทธิ์เรียง ลำดับดังนี้ Chebulic acid > tannic acid > ellagic acid นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทดลอง ฤทธิ์ต้าน lipid peroxidation พบว่ายับยั้งได้ 89% และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้ 92%
(International Congress and 49th Annual Meeting of the Society for Medicinal Plant Research, Sep2-6;2001:115 ).
- พบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้รับกรดเชบูลินิคจากผลสมอ สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเย็น แอสไพริน แอลกอฮอล์ และการผูกกระเพราะอาหารส่วน pyrolic เท่ากับ 62.9, 55.3, 80.67 และ 66.63% ตามลำดับ กรดเชบูลินิคในสมอไทยสามารถลดสภาพความเป็นกรด ในส่วนของ free acidity และสภาพกรดรวม เท่ากับ 48.82% และ 38.29% ตามลำดับ และเพิ่มการหลั่งสารเคลือบ (mucin) ได้ 59.75% และการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า กรดเชบูลินิคสามารถยับยั้งเอนไซม์ hydrogen potassium ATPase ซึ่งเป็น enzyme ที่ทำหน้าที่ผลิตกรด โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 65.01 มคก./มล. (Phytomedicine 2013;20:506-11 ).
- สาร Penta-O-galloyl-β-D-glucose (PGG) เป็นสารที่พบปริมาณสูงในสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ ส้มผด (Rhus chinensis ) โบตั๋น (Paeonia suffruticosa ) เมเปิ้ลชานตุง (Acer truncatum ) และสมอไทย (Terminalia chebula ) พบว่าสาร PPG ที่พบในสมอไทย มีฤทธิ์ในการต้านการเกิดการอักเสบโดยการลดการทำงานของนิวโทรฟิล
(Phytotherapy Research 2013;27:986-992).
- สมอไทย พบกระจายทั่วไปใน เวียตนาม กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ เมียนม่าร์ อินโดนีเซีย ศรีลังกา และไทย ที่ระดับต่ำ และปานกลาง ตำราเวียตนาม กล่าวว่า มีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน เป็นยาแก้ท้องเสีย บิด ไอ เหงื่อออกกลางคืน ใช้แก้ไอขนาด ๔-๖ กรัม ต้มกิน ถ้าใช้ขนาดสูงขึ้น เป็นยาถ่าย กอล (gall) ของพืชนี้ ยังใช้ในเด็กแก้ท้องเสีย ๕ เซนติกรัม ทุก ๓ ชั่วโมง สำหรับเด็ก อายุ ๑ ปี (4)
- สมอพิเภก พบใน เวียตนามตอนใต้ มาเลเซีย กัมพูชา ลาว อินเดีย มาเลเซีย และ ลาว ตำราเวียตนาม กล่าวถึงผลของสมอพิเภก ว่าผลแห้งเป็นยาฝาดสมาน บางครั้งใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน กรณีท้องเสีย แต่ผลสด ใช้เป็นยาถ่าย ส่วนเนื้อในเมล็ด (kernel) หากกินมากๆ จะเป็นสารเสพติด องค์ประกอบในผลเป็น แกลลิค-แทนนิน ร้อยละ ๒๐-๒๕ (4)
- พบว่าสารฟีนอลิกจากมะขามป้อม มีผลเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้ามตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสาร geraniin และ isocorilagin จะมีฤทธิ์ดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มข้นที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ 50% คือ 56 และ 42 มคก./มล. ตามลำดับ สำหรับฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง พบว่า geraniin มีฤทธิ์แรงที่สุดในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ MCF-7 โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 13.2 มคก./มล. ส่วนสาร isocorilagin มีฤทธิ์แรงที่สุดในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ HELF (IC50) เท่ากับ 51.4 มคก./มล.) สรุปได้ว่าสาร ฟีนอลิกจากมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ โดยอาจเป็นผลมาจากฤทธิ์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของสาร
(Food Chemistry 2012;131:685-90.)
- หนังสือมติชนคอลัมน์ชีวิตคุณภาพ หน้า ๑๐ วันอังคารที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หัวข้อ “ตรีผลา สูตรสมุนไพรต้านชรา” –กรมแพทย์แผนไทยชี้ยับยั้งมะเร็ง. แนะนำให้ใช้สูตร ตรีผลาประกอบด้วย สมอพิเภก ๑๐๐ กรัม สมอไทย ๒๐๐ กรัม และ มะขามป้อม ๔๐๐ กรัม นำผลไม้ทั้งสามชนิด ใส่หม้อ เติมน้ำ ๖ ลิตร ต้มน้ำเดือด ๓๐ นาที เติมน้ำตาลทราย ๖๐๐ กรัม เกลือ ๑ ช้อนชา กรองผ่านผ้าหรือกระชอน ใส่ภาชนะ ดื่มได้ทั้งร้อนเย็น แทนเครื่องดื่มทั่วไปได้ เหมาะสำหรับผู้เป็นหวัดบ่อย ๆ ช่วยเสริมภูมิต้านทาน ทั้งยังมีสรรพคุณชะลอความชรา
|