คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรปริญญาตรีเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)

ชื่อหลักสูตร

► ภาษาไทย : หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
► ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy Program


ชื่อปริญญา

► ภาษาไทย : เภสัชศาสตรบัณฑิต / ชื่อย่อ : ภ.บ.
► ภาษาอังกฤษ : Doctor of Pharmacy / ชื่อย่อ : Pharm.D.


หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 6 ปี มีแผนการศึกษาจำนวน 2 แผนการศึกษา เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เรียนที่จะเลือกเรียนเพื่อเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ และความชำนาญในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพให้มากขึ้นในทางใดทางหนึ่ง ดังนี้
1. เภสัชกรรมอุตสาหการ เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต และ ด้านกฎระเบียบและการขึ้นทะเบียนตำรับยา
2. บริบาลทางเภสัชกรรม เป็นแผนการศึกษาที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการดูแลผู้ป่วยในกระบวนการใช้ยาทั้งในผู้ป่วย ประชาชน ระบบยา ชุมชน และสังคม ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ


อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาต้องสอบความรู้ผู้ขอขั้นทะเบียนเป็นประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของสภาเภสัชกรรม
เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ ดังนี้
1. เภสัชกรฝ่ายผลิต 2. เภสัชกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ 3. เภสัชกรฝ่ายประกันคุณภาพ 4. เภสัชกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา 5. เภสัชกรฝ่ายทะเบียน 6. เภสัชกรโรงพยาบาล 7. เภสัชกรร้านยา 8. เภสัชกรประจำสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ 9. เภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 10. เภสัชกรการศึกษา 11. ผู้ประสานงานการวิจัยทางคลินิก 12. เภสัชกรการตลาด 13. อื่นๆ เช่น เภสัชกรงานด้านอาหารและยา เภสัชกรในสังกัดเทศบาล


ปริญญาตรี (2556) ดาวน์โหลด
ปริญญาตรี (2563) ดาวน์โหลด

รายละเอียดกระบวนวิชา ดาวน์โหลด
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรปริญญาโท

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่

1. หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม (Master of Pharmacy Program in Pharmacy Management)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
- นักวิจัยในสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
- นักวิชาการในส่วนงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในทางเภสัชกรรมโรงพยาบาลและร้านยา การคุ้มครองผู้บริโภค งานเภสัชปฐมภูมิ

2. หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก (Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรชุมชน
- นักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเภสัชกรรมคลินิก เช่น ผู้ประสานงานวิจัยทางคลินิก (clinical research associate, CRA) หรือ medical science lisison (MSL)
- อาจารย์/นักวิชาการ

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (Master of Science Program in Cosmetic Science)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัยและพัฒนาในบริษัทเครื่องสำอาง และสถาบันทางวิชาการต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยของรัฐและเอกชน เป็นต้น
- ผู้ประกอบการการผลิต และ/หรือ ผู้จำหน่ายผลิตถัณฑ์เครื่องสำอาง สารสกัดธรรมชาติ และวัตถุดิบที่ใช้ในเครื่องสำอาง
- ผู้กำกับดูแลเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบควบคุมเครื่องสำอาง
- อาจารย์/นักวิชาการ

4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม (Master of Science Program in Pharmaceutical Science)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- เภสัชกรฝ่ายผลิตยาในโรงพยาบาลและเภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- อาจารย์/นักวิชาการ


สาขาเภสัชกรรมคลินิก ดาวน์โหลด
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ดาวน์โหลด
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ดาวน์โหลด
สาขาวิชาการจัดการเภสัชกรรม ดาวน์โหลด
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักสูตรปริญญาเอก

ชื่อหลักสูตร

► ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
► ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmacy (International)


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
► ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Pharmacy)


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่:

- ความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถสร้่างผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
- ความสามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ บูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- ทักษะด้านสังคมสามารถสื่อสารและถ่ายทอดความรู้แก่บุคคลในหลากหลายอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สาขาเภสัชศาสตร์ (TH) ดาวน์โหลด
สาขาเภสัชศาสตร์ (EN) ดาวน์โหลด